เวลาในการตอบสนอง (Responsetime)
เวลาในการตอบสนอง (Response time) เป็นเวลาที่มากที่สุดในการตอบสนองของเซนเซอร์เมื่อรับสัญญาณอินพุตเข้ามาในขณะที่มีการตรวจจับวัตถุแล้วให้สัญญาณเอาท์พุตออกไปยังโหลดต่อไปเวลาในการตอบสนอง (Response time) เป็นเวลาระหว่างขอบของระยะที่ตรวจจับ (sensing event) แล้วมีการเปลี่ยนสถานะเอาท์พุต |
|
 |
|
ความสำคัญ
เวลาตอบสนองช่วยในการตัดสินใจกำหนดระยะเวลาที่วัตถุจะเคลื่อนที่ ซึ่งต้องอยู่ในช่วงที่เซนเซอร์สามารถตรวจจับได้ โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องนำไปประยุกต์ตรวจจับ :
- เหตุการณ์ที่มีความเร็วสูง
- วัตถุขนาดเล็กเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง
- ช่องแคบๆระหว่างวัตถุ
- ลดระยะเวลาการตรวจจับ
|
|
การมอดูเลชัน
ความเร็วของการตอบสนองของเซนเซอร์แสงถูกกำหนดโดยความถี่มอดดูเลชัน โดยเลือกได้ทางเดียวเท่านั้นคือระหว่างเวลาตอบสนองและระยะตรวจจับexcess gain) ดังนั้นเซนเซอร์ตรวจจับที่มีความเร็วสูงจะมีระยะตรวจจับที่สั้นถ้า LED มีพัลส์น้อย สามารถเพิ่มพัลส์ด้วยการเพิ่มกระแสให้สูงขึ้นด้วยเหตุนี้จึงเป็นการเพิ่มพลังงานให้สูงขึ้น |
|
 |
|
ความสามารถซ้ำค่าเดิม
การเจาะจงซ้ำค่าเดิมถูกประยุกต์ใช้ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการรู้ตำแหน่งที่แม่นยำในการเคลื่อนที่ของวัตถุที่ต้องการตรวจจับ โดยที่สัญญาณเอาท์พุตของเซนเซอร์ถูกใช้เพื่อการเปิดปิดหลังจากที่มีการมอดูเลตสัญญาณพัลส์เข้ามา เวลาในการตอบสนองก่อนการเปิดให้เซนเซอร์มอดูเลสเท่ากับเวลาที่เซนเซอร์ใช้ในการนับจำนวนพัลส์ และเอาท์พุตของเซนเซอร์จะเปลี่ยนสภาพทันทีที่เซนเซอร์นับพัลส์ที่ความถี่ที่ถูกต้อง |
|
ตั้งแต่ที่มีการตรวจจับที่ปรากฏในเวลาใดๆ ระหว่างรอบการมอดูเลส เวลาจริงระหว่างการตรวจจับและการเปลี่ยนสถานะเอาท์พุตเซนเซอร์ที่สามารถแตกต่างกันได้ในการมอดูเลสแต่ละครั้ง การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นความสามารถในการทำซ้ำของเซนเซอร์ |
|
การคำนวณเวลาตอบสนอง
คุณสามารถกำหนดการตอบสนองความถี่ของเซนเซอร์ที่ต้องการได้เมื่อคุณรู้ขนาดความเร็ว ระยะห่างของวัตถุที่ตรวจจับ
 |
|
เอาท์พุต
วงจรเอาท์พุตเป็นส่วนของเซนเซอร์ที่ต่อกับโหลดภายนอกที่ถูกส่งออกมาจากเซนเซอร์ การรู้ค่าแรงดันและค่ากระแสที่โหลดต้องการถือเป็นสิ่งสำคัญในการเลือกเซนเซอร์ เอาท์พุตเซนเซอร์ที่เป็นแบบต่อเนื่องจะต่ออยู่กับวงจรหรืออุปกรณ์ต่อไฟกระแสตรงที่แรงดันและกระแสระดับต่ำ เอาท์พุตเซนเซอร์ที่เป็นแบบไม่ต่อเนื่องจะต่อเข้ากับโหลดกระแสตรงหรือกระแสสลับก็ได้ |
|
สัญญาณเอาท์พุที่เป็นแบบต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่อง (Discrete/Analog Output)
เอาท์พุตของเซนเซอร์ ที่เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่องหรือไม่ต่อเนื่องสัญญาณที่เป็นแบบไม่ต่อเนื่องจะมีเอาพุตเพียง 2 สถานะเท่านั้นคือ เปิดและปิด

|
|
เอาท์พุตเซนเซอร์ที่เป็นแบบสัญญาณต่อเนื่อง เป็นตัวแปรหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดแรงดันหรือกระแสและเป็นสัดส่วนกัน โดยจะใช้สำหรับการวัดหรือการตอบสนองอย่างช้าๆ

|
|
การทำงานในสภาวะที่มีแสงมากและในสภาวะที่ไม่มีแสง(Light Operate/Dark Operate)
เซนเซอร์จะมีการกระตุ้นเมื่อมีการประยุกต์ที่ต้องการให้เซนเซอร์ทำงาน ด้วยสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่องของเซนเซอร์ตรวจจับด้วยแสง อินพุตและเอาท์พุตเพียง 1 สถานะจาก 2 สถานะ คือ สภาวะที่มีแสง และสภาวะที่ไม่มีแสง
- การทำงานในสภาวะที่มีแสง Light Operate (LO) สภาวะนี้เอาท์พุตของเซนเซอร์แสงจะให้พลังงาน เมื่อเซนเซอร์ตรวจจับสัญญาณที่มีการมอดูเลสของตัวมันเองได้

- สภาวะการทะงานที่มีแสง Dark operate (DO) เป็นองค์ประกอบเสริมของ LO ที่เซนเซอร์ให้พลังงาน เมื่อเซนเซอร์ไม่สามารถตรวจจับสัญญาณแสงที่มอดูเลตได้
|
|
ชนิดของหน้าสัมผัสโซลิดเสตดรีเลย์

การเปิดปิดถูกทำให้สมบูรณ์โดยอุปกรณ์ประกอบเช่น ทรานซิสเตอร์ SCR
- เอาท์พุตประกอบ: องค์ประกอบดูอัลเอาท์พุตของอุปกรณ์เซนเซอร์ คือ จะมีแบบปกติเปิดและปกติปิดในเซนเซอร์เพียงตัวเดียว
- เอาท์พุตแบบ NPN : เอาท์พุตประกอบไปด้วย ขาคอเลคเตอร์เปิดและขาอิมิตเตอร์ที่ต่อกับกราวด์ และโหลดจะต่อระหว่างขาคอลเลคเตอร์และแหล่งจ่ายไฟขาบวก
- เอาท์พุตแบบ PNP : เอาท์พุตประกอบไปด้วย ขาคอเลคเตอร์เปิดและขาอิมิตเตอร์ที่ต่อแหล่งจ่ายไฟขาบวก และโหลดจะต่อระหว่างขาคอเลคเตอร์และกราวด์
- เอาท์พุตแบบไบโพลา: สามารถใช้ได้ทั้งแบบ NPN และ PNP
|