เพิ่มเพื่อน

Healthcare (โรงพยาบาล)

โรงพยาบาลเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมในประเทศไทยที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างชัดเจน สาเหตุหลักมาจากประชากรที่แก่ตัวลง และนอกจากนี้ค่ารักษาพยาบาลยังมีแนวโน้มที่สูงขึ้น

โดยธรรมชาติแล้วโรงพยาบาลเป็นธุรกิจที่มีอำนาจการต่อรองกับผู้ป่วยสูง และเป็นปัจจัยพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนจำเป็นต้องมี ดังนั้นมูลค่าที่นักลงทุนให้กับบริษัทในอุตสาหกรรมนี้จึงอยู่ในระดับที่สูงตลอดเวลา

โรงพยาบาลสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ

  1. โรงพยาบาลขนาดใหญ่ มีจำนวนเตียงผู้ป่วยมากกว่า 200 เตียง มักตั้งอยู่ใน
    กรุงเทพฯ และปริมณฑล และหัวเมืองหลัก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการกระจุกตัวของ ประชากรที่มีกำลังซื้อปานกลาง – สูง ทั้งผู้ป่วยคนไทยและต่างชาติ ปัจจุบันมีจำนวน 30 แห่ง หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10% ของจำนวนโรงพยาบาลเอกชนทั้งหมด แต่
    โรงพยาบาลกลุ่มนี้มีจำนวนเตียงผู้ป่วยรวมถึง 28% ของจำนวนเตียงทั้งหมด หรือมี จำนวนประมาณ 9,500 เตียง บ่งชี้ถึงความสามารถในการให้บริการผู้ป่วย และ โอกาสการรับรู้รายได้ที่สูง
  2. โรงพยาบาลขนาดลาง มีจำนวนเตียงผู้ป่วย 31 – 200 เตียง มีจำนวนประมาณ
    240 แห่ง สัดส่วน 72% มีจำนวนเตียงรวมประมาณ 23,500 เตียง สัดส่วน 70%
  3. โรงพยาบาลขนาดเล็ก มีจำนวนเตียงผู้ป่วย 1-30 เตียง มีจำนวนประมาณ 60
    แห่ง มีจำนวนเตียงประมาณ 1,100เตียง สัดส่วน 17.6% และ 3.2% ตามลำดับ

นอกจากขนาดแล้ว ขอบเขตพื้นที่การให้บริการของโรงพยาบาลยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบหลักๆ คือ 1) โรงพยาบาลชุมชน 2) โรงพยาบาลอินเตอร์

ซึ่งโรงพยาบาลชุมชนจะหมายถึงโรงพยาบาลที่เน้นผู้ป่วยเพียงในบริเวณทำเลของโรงพยาบาลนั้นๆ ส่วนโรงพยาบาลอินเตอร์นั้นจะสามารถรองรับผู้ป่วยที่มาจากหลากหลายภูมิภาคมากขึ้นรวมถึงจากต่างประเทศด้วย สาเหตุเพราะมีความสามารถในการรักษาโรคที่ซับซ้อนได้ แตกต่างจากโรงพยาบาลชุมชนที่ทำได้เพียงโรคพื้นฐานเท่านั้น

ในการวิเคราะห์ โรงพยาบาลชุมชนนั้นมีข้อจำกัดในการมาใช้บริการของผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคธรรมดาก็จะเข้ามาใช้โรงพยาบาลภายในชุมชน เหตุผลเพราะมีความคุ้นเคยอยู่แล้วและเดินทางได้สะดวก

แต่หากโรคนั้นมีความซับซ้อนมากขึ้น ผู้ป่วยก็จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่อินเตอร์มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายก็จะมากขึ้นตามความซับซ้อนของโรค ดังนั้นโรงพยาบาลอินเตอร์โดยปกติแล้วจะสามารถทำกำไรได้สูงกว่า