Generator Set
<<<Back to Genset
<<< Go to Engine and Generator Controllers
ระบบสำรองไฟด้วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือเครื่องปั่นไฟ (Generator set) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของระบบสำรองไฟที่นิยมใช้กัน โดยที่หลักการของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า คือ การเปลี่ยนแปลงพลังงานกลมาเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยอาศัยการเหนี่ยวนำของแม่เหล็กตามหลักการของ ไมเคิล ฟาราเดย์ คือ การเคลื่อนที่ของขดลวดตัวนำผ่านสนามแม่เหล็ก หรือการเคลื่อนที่แม่เหล็กผ่านขดลวดตัวนำ จะทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้นในขดลวดตัวนำนั้น ซึ่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามี 2 ชนิด คือชนิดกระแสตรงเรียกว่า ไดนาโม (Dynamo) และชนิดกระแสสลับเรียกว่า อัลเตอร์เนเตอร์ (Alternator) สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้งานในเชิงอุตสาหกรรมนั้น โดยมากจะเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ ซึ่งมีทั้งแบบ 1 เฟส และแบบ 3 เฟส ซึ่งจะมีทั้งแบบขับเคลื่อนด้วย เครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซล โดยที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลักๆ คือ เครื่องยนต์ (Engine) ไดร์ปั่นไฟ (Alternator) และชุดควบคุม (Controller) ซึ่งทุกส่วนจะถูกนำมาประกอบร่วมเป็นชุดเดียวกัน โดยที่จะมีชุดควบคุมเป็นตัวสั่งการเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์สำหรับเลือกแหล่งจ่ายไฟ หรือที่เรียกกันว่า ATS (Automatic transfer switch) ว่าจะให้สับไปรับไฟจากส่วนไหน ระหว่างหม้อแปลงการไฟฟ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั่นเอง ซึ่งภายในตู้ของชุดควบคุมจะมี อุปกรณ์หลายๆอย่างเป็นส่วนประกอบ ดังต่อไปนี้ |

- Automatic transfer switch
- Battery charger
- Earth leakage relay
- Protection relay
- Fuse Holder
- Current Transformer
- Control and signaling units
- Metering
- Generator set controller
คือ อุปกรณ์สำหรับเลือกทางเดินไฟระหว่างแหล่งจ่าย 2 แหล่ง ไม่ว่าจะเป็น หม้อแปลง-หม้อแปลง, หม้อแปลง-เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มีทั้งแบบ 4P และ 3P และมีหลายดีไซน์ คือ ดีไซน์ที่ใช้แมคเนติกคอนแทคเตอร์มาประกอบกันเป็น ATS โดยส่วนมากดีไซน์แบบนี้จะใช้กับ ATS ที่มีพิกัดกระแสต่ำๆ ไม่เกิน 125A แต่ถ้าพิกัดกระแสสูงขึ้นมากกว่า 125A จะนิยมใช้เป็นดีไซน์โหลดเบรกสวิตช์ ซึ่งจะมีความปลอดภัยสูงกว่า |
ทำหน้าที่ในการชาร์ทไฟเข้าแบตเตอรี่ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยจะมีอยู่ 2 แบบ คือแบบ Linear หรือหม้อแปลง และ แบบ Switching ซึ่งแบบหม้อแปลง จะมีความคงทนมากกว่าแบบ switching แต่ก็มีขนาดและน้ำหนักมากกว่าแบบ switching เช่นกัน โดยจะมีตั้งแต่ 1.25A จนถึง 12A และสามารถปรับลิมิตของกระแสชาร์ทได้ |
เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสรั่วลงดิน มีทั้งแบบยึดหน้าตู้และติดตั้งบนราง DIN สามารถเลือก
supply ได้หลากหลายและปรับ I∆n fault current ได้ และยังสามารถเลือกหรือปรับ tripping range
สำหรับกระแสและ delay time ได้
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกัน โดยจะมีให้เลือกหลายแบบ เช่น Voltage monitoring relay,
current monitoring relay หรือ phase shift monitoring relay
แบบยึดราง DIN สำหรับฟิวส์ขนาด 10×38, 41×51 และ 22×58 มีรุ่นที่มีไฟบอกสถานะที่สังเกตได้
ง่ายว่าฟิวส์ขาดหรือไม่ และยังได้รับใบรับรองจาก UL และ CSA
หม้อแปลงกระแส มีทั้งแบบ Solid core และ split core พิกัดกระแสตั้งแต่ 40A ถึง 4000A
– Ø22 mm. Push buttons และ selectors มีทั้งแบบเหล็กและพลาสติกโดยสามารถติดตั้งได้
อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
– Ø62 mm. ไฟหมุน แบบไฟติดค้างและกระพริบ, เสียงดังยาวนานต่อเนื่อง หรือเสียงดังเป็นจังหวะ
– Emergency stop และ Pilot lights
เป็นอุปกรณ์สำหรับวัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้า ใช้งานง่าย, มีความแม่นยำสูง
ชุดคอนโทรลเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มีทั้งรุ่น Engine protection, stand-alone และ
Auto main failure (AMF)